ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคนิคเขียนเรื่องสั้น


10 เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น


1. ต้องมีการระบายสภาพ และบรรยากาศ หมายถึง การพรรณนาภาพอันใดอันหนึ่ง เพื่อนำความคิดของผู้อ่านให้ซาบซึ้งในท้องเรื่อง ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นชัดเจน

2. การวางเค้าเรื่อง มีหลักใหญ่ๆอยู่ 2 แบบ
2.1 คือเริ่มนำเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งที่จุด ก. แล้วพาผู้อ่านเกิดความพิศวงตามเส้น ก. ข. โดยจัดเรื่องให้มีความยุ่งยาก เกิดความฉงนขึ้นทุกทีจนถึงปลายยอดที่จุด ข. หรือที่เรียกว่า ไคลแมกซ์ และจบเรื่องลงโดยเร็ว ให้ผู้อ่านโล่งใจ เข้าใจ สะเทือนใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง
2.2 เป็นแบบสองซ้อน คือเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วย้อนต้นกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญนั้น ว่ามีมูลเหตุเป็นมาอย่างไร จากจุด ก. มายังจุด ข. แล้วดำเนินเรื่องต่อไปยังจุด ค. เช่นเดียวกับแบบที่ 2.1 โดยขมวดปมไปตามระยะทาง ข. ค. สร้างความฉงนสนเท่ห์ ไปจนถึงจุด ค. ซึ่งเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง และจบลงที่จุด ง. โดยเร็ว

3. การจัดตัวละครและให้บทบาท
เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย จะต้องมีตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวสำคัญของเรื่อง ตัวละครนี้จะต้องมีบทบาทเพื่อ แสดงลักษณะนิสัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น

4. การบรรยายเรื่อง มี 2 วิธี
วิธีแรก คือให้ตัวผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง
วิธีที่สอง คือ บุคคลที่สาม ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด

5. การเปิดเรื่อง เรื่องสั้นไม่ควรเปิดเรื่องให้้อืดอาดยืดยาว มีวิธีเปิดเรื่องดังนี้
1. เปิดเรื่องโดยตัวละครพูดกัน
2. โดยการบรรยายตัวละคร
3. โดยการวางฉาก และการบรรยายตัวละครประกอบ
4. โดยการบรรยายพฤติการณ์และตัวละคร
5. เปิดเรื่องโดยขมวดแนวคิด
วิธีเปิดไม่บังคับตายตัว ตามแต่ผู้เขียน

6. บทเจรจา หรือคำพูดของตัวละคร
ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวละคร

7. ต้องมีความแน่น คือ พูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

8. ต้องทำตัวของตัวเราให้ชัดเจน
ก่อนเขียนต้องจินตนาการลักษณะตัวละครให้ชัดเจนก่อน แล้วเขียนตามที่เห็น จึงจะทำให้คนอ่านเห็นตามด้วย

9. การให้ชื่อตัวละคร และชื่อเรื่อง
การตั้งชื่อตัวละคร ควรตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ
ส่วนชื่อเรื่อง ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความอยากอ่าน โดยใช้คำสั้นๆเพียง 2-3 คำ แ่ต่ให้น่าทึ่ง

10. การทำบท คือ การบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียวกับการแสดงละคร ต้องพรรณนาถึงกิริยาท่าทาง อาการรำพึงรำพัน ฯลฯ


>>>>> เทคนิคเล็กๆน้อยๆที่มองข้ามไปไม่ได้ <<<<<

1. ชื่อเรื่อง
อันนี้ดึงดูดใจอย่างแรง เพราะบางชื่อเรื่องไม่เข้าตา เราก็ไม่อ่านกันแล้ว การตั้งชื่อเรื่องต้องตั้งให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง คล้องจองกัน อ่านง่าย จำง่าย ตั้งกันตามใครต่อใครนิยม

2. คำอธิบายเรื่อง
เราต้องหยิบยกเนื้อเรื่องบางส่วน หรือบางตอนที่น่าสนใจมาเขียน ผู้อ่านจะได้สนใจ

3. พล็อตเรื่อง
ต้องน่าสนใจ ต้องเป็นพล็อตที่มีสาระ พล็อตต้องเป็นพล็อตที่ไม่น่าเบื่อ นิยมตามสมัย แล้วจะแสดงถึงศักยภาพของคนแต่ง ที่สำคัญห้ามไปก๊อปของใครมาเด็ดขาด



>>>>> 3 ขั้นตอนดีๆ <<<<<

1. ถ้าคิดพล็อตได้ ห้ามเขียนทันที เพราะอาจเป็นไปได้ว่า จะเขียนไม่เสร็จ ทางที่ดีควรจดย่อๆไว้ในสมุดก่อน

2. รอฤกษ์ดี เมื่อโอกาสงามๆมาถึง ควรจะคิดฉากต่างๆให้หมด แล้วเขียนลำดับฉากเอาไว้ แต่ไม่ต้องกำหนดตายตัว เพราะจะทำให้ขาดความยืดหยุ่นเมื่อมีความคิดใหม่ๆเข้ามา

3. ขณะเขียน อย่าขี้เกียจ



>>>>> อีกส่วนสำคัญ <<<<<
ตัวละครควรเคลื่อนไหวเหมือนเช่นว่า เรากำลังดูภาพยนตร์อยู่ ตัวละครหลัก ต้องอธิบายท่าทางต่างๆ เพื่อความสมจริง หรือเน้นกิริยานั่นเอง


ความคิดเห็น