ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตอนที่ 43 (บทความ) ... 1 เล่ม หลายวิชา



     วันนี้หยิบสมุดแต่งเรื่องสั้น และบทความขึ้นมาวางบนโต๊ะ กำลังคิดอยู่ว่าเรื่องสั้นเรื่องใหม่จะแต่งไปทางไหนดี เพราะวางโครงไว้ แต่เนื้อเรื่องยังไม่ชัดเจน ระหว่างที่ก้มหน้ามองปกสมุดอยู่ก็เจอคำว่า 1 เล่ม 2 วิชา ทำให้นึกถึงอดีตสมัยเรียนขึ้นมาทันที

     จำได้หรือไม่ว่าในสมัยเรียนตั้งแต่ อนุบาล ยันป.ตรี ป.โท เรามีหนังสือกี่เล่ม สมุดกี่เล่ม

     สมัยอนุบาล ยอมรับเลยว่า จำไม่ได้ เพราะสมองตอนนั้นไม่ได้บันทึกช่วงเวลานั้นไว้ จะเริ่มจำความได้ก็ตอนประถมขึ้นไป สมัยประถมจะเรียนวันละหลายๆวิชา เหมือนมัธยม แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือ ตำราเรียนนั่นเอง ไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดนะครับว่า ห้ามเอาตำราเรียนไว้ในลิ้นชัก โดยให้เหตุผลว่า มันจะหาย หากใครฝ่าฝืนเอาตำราเรียนเก็บไว้ในลิ้นชัก จะโดนตีมือ เพี๊ยะๆๆ

     ทำไมต้องให้แบกไป แบกมาด้วยก็ไม่รู้ บางวิชาเรียน 2-3 วันติดๆกัน ก็ต้องแบกไป แบกมา แล้วตำราแต่ละเล่มบางๆ เบาๆ ซะที่ไหน มันหนาๆ หนักๆทั้งนั้น จะให้เด็กตัวเล็กๆแบกไป แบกมาทำไมก็ไม่รู้ หรือว่าอยากให้เด็กแข็งแรงหว่า แบกทีเป็น 10 กิโลกรัม หลังแทบหัก น่าจะให้เอากลับบ้านแค่วิชาที่มีการบ้านก็พอแล้ว

     พอโตมาหน่อยก็ชั้นมัธยม ตำราเริ่มบางลง แถมยังเอาเก็บไว้ในลิ้นชักได้อีกแน่ะ แหม...โตมามีแรงเยอะขึ้น ดันไม่ต้องเอากลับบ้านก็ได้

     พอถึงจุดสูงสุดที่ ป.ตรี (ป.โท ป.เอก ไม่นับ มันสูงเกิน) ทีนี้ตำราเรียนแทบจะหายไปเลย เพราะจะกลายเป็นชีทแทน ถ่ายเอกสารแจกกันเข้าไป แจกเสร็จ เรียนเสร็จ กลับบ้าน แล้วก็โยนทิ้งไว้ กองกันมั่วๆเข้าไป ถึงเวลาสอบที ก็รื้อออกมาอ่านสักที (เป็นเหมือนกันรึเปล่าครับ) บางคนรวมถึงผมด้วย ทั้งเทอมใช้สมุดแค่เล่มเดียว หรือสูงสุดไม่เกิน 5 เล่มเอ้า (แล้วแต่สถานศึกษาด้วย บางที่มีการตรวจสมุดด้วย ป.ตรี นะนั่น มีตรวจสมุด) ใน 1 เล่มที่ใช้ทั้งเทอม ก็จดมันทุกวิชาที่เรียนนั่นแหละ เรียน 10 วิชา ก็มีเนื้อหาอยู่ในเล่มนั้นแหละ สุดยอดมั้ยล่ะครับ แต่มีบางคนเทพกว่านั้นอีก ไม่มีสมุดเลย แต่เอา A4 ไปจดๆๆ แล้วก็เอามาหนีบรวมไว้เป็นวิชาๆไป ถึงมันจะดูแย่ที่ไม่มีสมุด แต่พอถึงเวลาค้นเนื้อหาวิชาขึ้นมา มันค้นหาง่านที่สุดเหมือนกันนะ แถมใครจะเอาไปถ่ายเอกสาร ก็ถอดไปง่ายๆเลย

ความคิดเห็น